วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การทำเกียรติบัตร ด้วยจดหมายเวียน



ขั้นตอนการทำจดหมายเวียน
1. เตรียมข้อมูล สร้างฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Excel เพื่อใช้เชื่อมโยงกับจดหมายและพิมพ์ข้อมูลหรือรายชื่อที่ต้องการจะใช้ในเอกสารการทำเกียรติบัตร



จากนั้นทำการบันทึกไฟล์ไว้ที่ Desktop กำหนดชื่อไฟล์  เสร็จแล้วกดบันทึก


2. สร้างเอกสารหลัก เปิดโปรแกรม word ขึ้นมาก่อน จากนั้นจัดวางแบบฟอร์มของใบประกาศและเปลี่ยนฟอนต์ใส่สีตามต้องการ
       แล้วทำการบันทึกเป็นชื่อไฟล์ตามที่ต้องการ
   

3. การสร้าง เลือกเอกสารหลัก ---เปิดไฟล์เอกสารหลักขึ้นมา ---คลิกที่แท็บ การส่งจดหมาย ---คลิกที่ เริ่มจดหมายเวียน
   

จากนั้นเลือก ตัวช่วยสร้างจดหมายเวียนทีละขั้นตอน
4. เลือกชนิด ตัวช่วยสร้างจดหมายเวียนทีละขั้นตอน เลือกชนิดของเอกสาร เลือกชนิดจดหมาย ---จากนั้นคลิกที่ ถัดไป: กำลังเริ่มเอกสาร
        2 เลือกเอกสารที่ใช้เริ่มต้น เลือกใช้เอกสารปัจจุบัน ---จากนั้นคลิกถัดไป:เลือกผู้รับ
3 เลือกผู้รับ เลือก ใช้รายการที่มีอยู่



       คลิก เรียกดู ---> Desktop ---> เลือกไฟล์ข้อมูลที่เตรียมไว้ ---> Sheet 1 
       ---> รายชื่อผู้รับ ---> ตกลง ---จากนั้นคลิก ถัดไป: โปรดเขียนจดหมายของ         คุณ 

 4 โปรดเขียนจดหมายของคุณ
        คลิก ช่องที่อยู่ ---เลือก นายสมชาย ใจดี คำต่อท้าย ---ตกลง
        คลิก รายการเพิ่มเติม ---> เลือก เขตข้อมูลของฐานข้อมูล ---> แทรก ---> ปิด
        ---> จากนั้น คลิก ถัดไป: แสดงตัวอย่างจดหมายของคุณ


5 แสดงตัวอย่างจดหมายของคุณ



          คลิก ถัดไป: ทำการผสานให้เสร็จสมบูรณ์
6 ทำการผสานให้เสร็จสมบูรณ์

        คลิก แก้ไขแต่ละจดหมาย ---> ทั้งหมด จากนั้นทำการปรับรูปแบบตัวหนังสือและขนาด เพื่อความเหมาะสม
5. การพิมพ์ 
   เลือกการพิมพ์ ---> ตกลง
      -> ทั้งหมด คือ พิมพ์ทุกแผ่น
      -> ระเบียนปัจจุบัน คือ พิมพ์เฉพาะหน้านั้น ๆ
      -> จาก - ถึง คือ การพิมพ์ข้อมูลเป็นช่วง 




การทำสารบัญ

           
การทำสารบัญ

ขั้นตอนการทำสารบัญ
      ขั้นที่ 1. ทำการเปิด Microsoft Word

     ขั้นที่ 2. ใส่ style ให้กับหัวข้อ เช่นกำหนดว่า หัวเรื่อง หัวเรื่อง และหัวเรื่อง ต้องการ รูปแบบใด
                  เนื้อหาที่ต้องการทำสารบัญแล้วนำมากำหนดว่า หัวเรื่อง หัวเรื่อง และหัวเรื่อง ตามต้องการ

     ขั้นที่ 3. หลังจากนั้นกดที่ การอ้างอิง (Reference) แล้วกดที่ สารบัญ (Table of  Contents)
  

      ขั้นที่ 4. สามารถเลือกสารบัญในตัวอย่างเลยก็ได้ หรือว่ากดที่ แทรกสารบัญ... เพื่อสร้างสารบัญเอง
      
     ขั้นที่ 5. คลิกที่แทรกสารบัญ... ---ตั้งค่าตามต้องการ ---หลังจากเลือกค่าตามที่ต้องการกด OK 


  โปรแกรมจะทำการสร้างสารบัญให้โดยอัตโนมัติ


         ตั้งค่าใหม่


    ขั้นที่ 6. เมื่อตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้กดตกลง รบบจะทำการจัดหน้าสารบัญให้อัตโนมัติ
              

      ขั้นที่ 7. หลังจากสร้างสารบัญแล้วมีการเปลี่ยนแปลงหัวข้อก็ให้เพียงกด  การอ้างอิง (Reference) เลือก ปรับปรุงสารบัญ (Update Table)  จากนั้นก็เลือกว่าจะอัพเดตเฉพาะเลขหน้า หรือว่าอัพเดตสารบัญใหม่ทั้งหมด 
    

จบขั้นตอนการทำสารบัญ



วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เที่ยวกินลมชมอารยธรรมขอม @พิมาย

        ถ้าพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งอารยธรรมในอำเภอพิมาย หลายคนคงจะต้องคิดถึงสถานที่นี้ในทันที "ปราสาทหินพิมาย" ใช่แล้วค่ะ!! และก่อนที่เราจะไปชมสถานที่จริง เราควรรู้ข้อมูลคร่าวๆของสถานที่แห่งนั้นก่อนจริงไหมคะ??  ดังนั้นวันนี้เราไปดูข้อมูลบางส่วนของสถานที่ที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายแห่งอารยธรรมกันดีกว่า "ไปเล้ยยย......"

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยปราสาทหินในสมัยอาณาจักรขอมที่ใหญ่โตและงดงาม สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อใช้เป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์

ประวัติ

ผังอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
เมืองพิมายเป็นเมืองที่สร้างตามแบบแผนของศิลปะเขมร หรือ กัมพูชา มีลักษณะเป็นเวียงสี่เหลี่ยม ชื่อ พิมาย น่าจะมาจากคำว่า วิมายหรือ วิมายปุระ ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะสร้างบ่งบอกว่า ปราสาทหินพิมายคงเริ่มสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในฐานะเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ รูปแบบของศิลปะเป็นแบบบาปวนผสมผสานกับศิลปะแบบนครวัด ซึ่งหมายถึงปราสาทนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นสถานที่ทางศาสนาพุทธในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
เมื่ออิทธิพลของวัฒนธรรมขอมเริ่มเสื่อมลงหลังรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยในเวลาต่อมา เมืองพิมายคงจะหมดความสำคัญลง และหายไปในที่สุด เนื่องไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเมืองพิมายเลยในสมัยสุโขทัย
ในปี พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทหินพิมายเป็นโบราณสถาน และได้จัดตั้งเป็น อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยได้ดำเนินการปรับปรุงจัดตั้งถึง 13 ปี ร่วมมือกันระหว่างกรมศิลปากร และประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519-2532 ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ พระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยาน

โบราณสถาน

ตัวอุทยานตั้งอยู่ฟากทิศตะวันออกของแม่น้ำมูล บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร ลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทหินอื่น ๆ ที่มักหันไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางตัดมาจากเมืองยโศธรปุระ เมืองหลวงในสมัยนั้นของขอม ซึ่งเข้ามาสู้เมืองพิมายทางทิศใต้

สิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจภายในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

พลับพลา

ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ากำแพงชั้นนอก ด้านซ้ายมือของทางเดินเข้าสู่ตัวปราสาท เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เดิมเรียกกันว่า "คลังเงิน" จากตำแหน่งที่ตั้งสันนิษฐานว่าคงเป็นที่พักเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์ หรือเจ้านายชั้นสูงที่เสด็จมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวมทั้งเป็นสถานที่พักจัดขบวนสิ่งของถวายต่าง ๆ จากการขุดแต่งบริเวณนี้เมื่อปี พ.ศ. 2511 ได้พบโบราณวัตถุจำนวนมาก มีทั้งรูปเคารพ เครื่องประดับ และเหรียญสำริด เป็นเหตุให้เรียกกันว่า "คลังเงิน"

สะพานนาคราช

สะพานนาคราช ปราสาทหินพิมาย
ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าทางเข้าโคปุระด้านทิศใต้สร้างด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาท กว้าง 4 ม. ยาว 31.70 ม. ยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นตัวนาค ที่ปลายราวสะพานทำเป็นรูปนาคราชชูคอแผ่พังพานเป็นรูปนาค 7 เศียร สะพานนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเดินทางเข้าสู่ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ตามคติความเชื่อเรื่องจักรวาล เชื่อว่าเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ คตินีถือสืบกันมาในศาสนาฮินดูและพุทธศาสนานิกายมหายาน

ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว

ปรางค์หินแดง ปราสาทพิมาย
ซุ้มประตูหรือโคปุระ ตั้งอยู่กึ่งกลางของแนวกำแพงแก้ว อยุ่ในแนวตรงกันหมดทั้ง 4 ด้าน คือ ทิศเหนือ-ใต้ อยู่ตรงกึ่งกลางของกำแพง ทิศตะวันออก-ตะวันตกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย ผังโดยรอบของซุ้มประตูจะมีลักษณะเป็นรูปกากบาท จากกำแพงแก้วเข้ามาด้านในเชื่อกันว่าเป็นดินแดนของโลกสวรรค์ อันเป็นที่อยู่ของเทพเจ้า

ชาลาทางเดิน

ก่อสร้างด้วยหินทราย เชื่อมต่อระหว่างซุ้มประตูด้านทิศใต้ของระเบียงคดที่ล้อมรอบปราสาทประธาน โดยทำทางเดินยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร แบ่งเป็น 3 ช่องทางเดิน ผังทำเป็นรูปกากบาท จากการบูรณะพบเศษกระเบื้องมุงหลังคาและบราลีดินเผาจำนวนมาก สันนิษฐานว่าเดิมคงเป็นระเบียงโปร่ง หลังคามุงกระเบื้อง รองรับด้วยเสาไม้

ซุ้มประตูและระเบียงคด

เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายยกพื้นสูง อยู่ล้อมรอบปราสาทประธาน ระเบียงคดมีลักษณะคล้ายกำแพงแก้วทั้ง 4 ด้าน โดยมีตำแหน่งที่ตั้งตรงกับแนวของประตูเมือง และประตูทางเข้าปราสาทประธาน ปรากฏหลักฐานสำคัญที่ซุ้มประตูด้านทิศใต้ บริเวณกรอบประตูพบจารึกภาษาเขมร อักษรขอมโบราณ ระบุศักราชตรงกับ พ.ศ. 1651-1655 กล่าวถึงการสร้างรูปเคารพ การสร้างเมือง ตลอดจนปรากฏพระนามของขุนนางชั้นสูง และพระนามมหากษัตริย์คือ พระเจ้าธรณินทรวรมันที่1

ปราสาทประธาน

ประสาทประธาน
เป็นส่วนสำคัญที่สุดของปราสาทหินพิมาย เป็นปราสาทองค์ใหญ่ สร้างขึ้นราวพุทธศรรตวรรษที่ 16-17 ก่อสร้างด้วยศิลาทรายสีขาวหันหน้าไปทางทิศใต้ ซึ่งแตกต่างจากศาสนสถานแบบขอมในที่อื่น ๆ ซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปราสาทประธานประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ มณฑปและ เรือนธาตุ มีการจำหลักลวดลายประดับตามส่วนต่าง ๆ เช่น หน้าบัน ทับหลัง มักจำหลักเป็นภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์และเรื่องราวทางพุทธศาสนา ยกเว้นทางด้านทิศใต้ จำหลักเป็นภาพศิวนาฏราช ภายในเรือนธาตุเป็นส่วนสำคัญที่สุดเรียกว่า ห้องครรภคฤหะ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพสำคัญ พื้นห้องตรงมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีร่องน้ำมนต์ต่อลอดผ่านพื้นห้องออกไปทางด้านนอก เรียกว่า ท่อโสมสูตร

ปรางค์หินแดง

ปรางค์ประธาน
สร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของปรางค์ประธาน มีมุขยื่นออกไปทั้ง 4 ทิศ เหนือกรอบประตูทางเข้าด้านทิศเหนือ มีทับหลังหินทรายจำหลักภาพเล่าเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ ตอนอรชุนล่าหมูป่า ส่วนกรอบประตูด้านอื่นคงเหลือร่องรอยเฉพาะเสาประดับกรอบประตูศิลปะแบบเขมรประดับอยู่

หอพราหมณ์

เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันกับบปรางค์หินแดง ในปี พ.ศ. 2493 ได้ค้นพบศิวลึงค์ สลักด้วยหินทรายจำนวน 7 ชิ้นอยู่ภายในหอพราหมณ์ เชื่อกันว่าอาคารหลังนี้คงเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์ แต่จากรูปแบบและตำแหน่งที่ตั้งเดิมคงเป็นที่ตั้งของบรรณาลัยมากกว่า.

ปรางค์พรหมทัต

ลักษณะของปรางค์องค์นี้ สร้างด้วยศิลาแลงตั้งอยู่ด้านหน้าของปราสาทประธานทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประตูทำเป็นมุขยื่นออกไปทั้ง 4 ทิศ ภายในองค์ปรางค์พบประติมากรรมสำคัญ 2 ชิ้น คือ ประติมากรรมรูปบุคคลขนาดใหญ่อยู่ในท่านั่งขัดสมาธิ สลักด้วยหินทราย สันนิษฐานว่าเป็นรูปจำลองของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ชาวบ้านเรียกว่า ท้าวพรหมทัต ส่วนอีกรูปเป็นรูปสตรีนั่งคุกเข่าสลักด้วยหินทราย ส่วนศีรษะและแขนหักหายไป เชื่อกันว่าเป็นรูปของพระนางชัยราขเทวีมเหสี ชาวบ้านเรียกตามนิยายพื้นบ้านว่า นางอรพิม ปัจจุบันประติมากรรมทั้ง 2 ชิ้นนี้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพิมาย

บรรณาลัย

ตั้งอยู่บริเวณลานชั้นนอก ระหว่างกำแพงแก้วและซุ้มประตูระเบียงคด ด้านทิศตะวันตกเป็นอาคาร 2 หลังขนาดเดียวกัน ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง ก่อด้วยหินทรายกั้นเป็นห้องยาวตลอดแนว พบร่องรอยหลุมเสารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เดิมคงเป็นหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง เชื่อกันว่าบรรณาลัยคือสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา


วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ไปสูดอากาศดี๊ดีที่เขาใหญ่กันเถอะ

ในวันนี้ในฐานะที่เราเป็นคนโคราช เราจึงอยากจะพาไปทำความรู้จักกับสถานที่ท่องเที่ยวที่โด่งดังมากในเขตจังหวัดนครราชสีมา(โคราช) นั่นก็คืออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นั่นเอง ไปดูกันดีกว่าว่าที่เขาใหญ่มีอะไรน่าสนใจบ้าง Let's go......
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 11 อำเภอ ใน 4 จังหวัด ได้แก่ อำเภอปากช่อง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา อำเภอนาดี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก และอำเภอแก่งคอย อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2505 และได้รับสมญานามว่าเป็น "อุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน"
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีเนื้อที่ปกคลุม 2,215.42 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าดิบเขา ทุ่งหญ้า และป่ารุ่นสอง ป่าดงดิบชื้น ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นป่าที่อยู่ในระดับความสูง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พืชพรรณมี 3,000 ชนิด, มีผีเสื้ออยู่กว่า 189 ชนิด, นกป่ามากมายกว่า 350 ชนิดและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 71 ชนิด ซึ่งได้แก่ ช้าง เสือ ชะนี กวาง และหมูป่า พบอยู่ตามทุ่งหญ้ากว้างทั่ว ๆ ไป

แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ

น้ำตกเหวนรก


น้ำตกเหวนรกชั้นที่ 2 และ 3 แต่ชั้นที่ 1 มองไม่เห็นจากมุมนี้ โดยซ่อนอยู่หลังพุ่มไม้สีเขียวด้านบน
เป็นน้ำตกที่เกิดจากคลองท่าด่าน น้ำตกเหวนรกเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นน้ำตกที่มีความสูงและสวยงามมากแห่งหนึ่งของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แต่เดิมก่อนที่จะมีการตัดถนนสายปราจีนบุรี-เขาใหญ่นั้น จะต้องเดินเท้าเข้ามาโดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง แต่หลังจากตัดถนนสายปราจีนบุรี-เขาใหญ่เสร็จแล้ว ถนนตัดผ่านใกล้น้ำตกเหวนรกมาก โดยมีลานจอดรถห่างจากตัวน้ำตกเพียง 1 กิโลเมตรเท่านั้น ระหว่างทางสามารถเดินชมธรรมชาติอันสวยงามสองข้างทางได้ เมื่อถึงตัวน้ำตกจะมีบันไดลงไปอีกราว 50 เมตร ซึ่งค่อนข้างแคบและชัน แต่เมื่อลงไปถึงจุดชมวิวก็จะเห็นความยิ่งใหญ่อลังการของน้ำตกได้อย่างสวยงาม หากไปในฤดูฝนมีน้ำมาก ละอองน้ำจะกระเซ็นต้องกับแสงอาทิตย์เป็นสายรุ้งอย่างงดงาม แต่หากมาชมในหน้าแล้งนั้นอาจต้องผิดหวังเพราะไม่มีน้ำ เห็นแต่เพียงหน้าผาแห้งๆ เท่านั้น

น้ำตกเหวนรก
ระหว่างทางเดินมายังน้ำตกเหวนรกนี้ จะสังเกตเห็นแนวคันปูนเป็นระยะ สร้างขึ้นเพื่อป้องกันช้างพลัดตกไปยังน้ำตก ตั้งแต่ในปี 2530 จะมีช้างตกลงไปยังผาข้างล่างปีละเชือกหรือสองเชือกเสมอ และในครั้งใหญ่ที่สุดปี 2535 มีช้างโขลงหนึ่งจำนวน 8 เชือกหลงเข้ามาและถูกกระแสน้ำพัดตกลงไปตายหมด ทางอุทยานแห่งชาติจึงได้สร้างแนวป้องกันนี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันอันตรายแก่ช้างป่ามิให้เกิดขึ้นอีก
ในความเป็นจริงแล้ว น้ำตกเหวนรกนั้นมีอยู่ 2 ชั้น ที่ได้ชมนี้เป็นชั้นที่ 1 โดยมีความสูงของตัวน้ำตกประมาณ 50 เมตร ส่วนชั้นที่ 2 และ 3 นั้นอยู่ห่างออกไป ซึ่งชั้นที่สองนี้มีความสูงมากกว่าชั้นแรกเสียอีก ในความเป็นจริงแล้วมีเส้นทางสำรวจป่าของทางอุทยานเพื่อไปยังผาอีกด้านหนึ่งเพื่อชมทัศนียภาพของน้ำตกชั้นที่สองและสามแต่ไม่ได้เปิดให้เข้าชมโดยทั่วไปเนื่องจากเป็นทางเข้าไปในป่าดิบ มีสัตว์ป่าออกหากินตลอด หากต้องการเข้าชมควรติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานนำทางเข้าไปเพื่อความปลอดภัย และหากต้องการชมทัศนียภาพของน้ำตกชั้นที่ 2 และ 3 ให้สวยงามที่สุด ควรเดินทางมาชมในช่วงกันยายนหรือตุลาคม เนื่องจากจะมีน้ำมาก ตกลงมาเป็นละออง และหากมาชมในช่วงเวลา 10 นาฬิกา จะเป็นเวลาพอเหมาะที่แสงอาทิตย์ตกกระทบกับละอองน้ำตกเกิดเป็นสายรุ้ง โดยรวมความสูงของน้ำตกชั้นที่ 2 และ 3 นี้ประมาณ 150 เมตร

น้ำตกผากล้วยไม้


น้ำตกผากล้วยไม้
เกิดจากห้วยลำตะคอง การเดินทางมาจะต้องจอดรถที่ลานกางเต๊นท์ผากล้วยไม้ แล้วเดินเท้าเลาะไปตามห้วยลำตะคอง ผ่านป่าดงดิบตลอดทาง หากโชคดีอาจพบนกบางชนิด เช่น นกกางเขนหลังเทา เมื่อเดินเข้ามาประมาณ 1.2 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกผากล้วยไม้ มีป้ายเขียนเอาไว้ชัดเจน น้ำตกผากล้วยไม้นั้นลักษณะเป็นผาไม่สูงนัก ชื่อน้ำตกผากล้วยไม้นี้มาจากมีกล้วยไม้หลายชนิดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกล้วยไม้หวายแดง ซึ่งจะออกดอกช่วงเดินเมษายน
ปกติแล้วนักท่องเที่ยวจะนิยมชมน้ำตกบริเวณด้านนอกเท่านั้น แต่หากเดินเลาะไปตามโขดหินอีกประมาณ 100 เมตร ก็จะพบน้ำตกชั้นใน ซึ่งมีความสวยงามไม่แพ้กัน และหากเดินเลาะมาตามห้วยลำตะคองเรื่อยๆ ก็จะมาทะลุถึงน้ำตกเหวสุวัตได้

น้ำตกเหวสุวัต


น้ำตกเหวสุวัต
เป็นน้ำตกอีกแห่งที่สวยงามของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยเกิดจากห้วยลำตะคองไหลตกผ่านหน้าผาสูงราว 25 เมตร และมีแอ่งน้ำทางด้านล่างเหมาะแก่การเล่นน้ำเป็นอย่างมาก แต่ทางอุทยานแห่งชาติได้มีป้ายประกาศว่าห้ามเล่นน้ำไว้เนื่องจากกลัวอันตรายว่าจะมีน้ำป่าไหลหลากเฉียบพลัน ในฤดูฝนสายน้ำที่ตกลงมาจะเป็นละอองกระจายเต็มไปหมด ทำให้รู้สึกสดชื่นเย็นสบาย แต่หากมาในฤดูน้ำน้อย จะสามารถเดินลัดเลาะเพื่อเข้าไปยังโพรงถ้ำเล็กๆ ใต้หน้าผาน้ำตกได้
บางคนกล่าวไว้ว่า ชื่อน้ำตกเหวสุวัตนี้ เกิดจากมีโจรชื่อสุวัต หนีเจ้าหน้าที่บ้านเมืองมาจนมุมยังน้ำตกแห่งนี้ เลยตัดสินใจกระโดดลงมายังแอ่งน้ำเบื้องล่าง แต่ก็ไม่มีหลักฐานอะไรยืนยัน เป็นเพียงเรื่องเล่าต่อๆ กันมาเท่านั้น
สำหรับห้วยลำตะคองนี้ หลังจากผ่านน้ำตกเหวสุวัตแล้ว ยังมีน้ำตกเหวไทรและน้ำตกเหวประทุนที่อยู่ลึกเข้าไปอีก แต่จะต้องเดินผ่านป่าลึกฝ่าดงทากเข้าไป ควรมีเจ้าหน้าที่นำทางไปด้วยเนื่องจากในป่าลึกนั้นเส้นทางไม่ชัดเจน อาจพลัดหลงได้ง่าย

จุดชมวิวผาเดียวดาย

อยู่บนยอดเขาเขียว สามารถขับรถยนต์เข้าไปถึงแต่ถนนไม่ค่อยดีนักเนื่องจากมีหินถล่มบ่อยทำให้ผิวถนนเสียหายเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ถนนยังชันและเป็นโค้งหักศอกอีกด้วย เมื่อขึ้นไปเกือบถึงยอดเขาก็จะมีที่จอดรถให้บริเวณใกล้กับผาเดียวดาย ซึ่งระหว่างทางจะเดินผ่านเส้นทางศึกษาธรรมชาติ โดยเส้นทางนี้มีความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณต่างๆ มากมาย ที่น่าสนใจ เช่น ช้องนางคลี หญ้าข้าวกล่ำ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีไม้ใหญ่อื่นๆ ซึ่งมักถูกปกคลุมด้วยมอสเป็นสีเขียวแลดูสดชื่น และยังมีไม้หอมพวกกฤษณาอีกด้วย ใช้เวลาเดินผ่านป่าดิบชื้นนี้ประมาณ 15 นาที ก็จะถึงจุดชมวิวผาเดียวดาย แลเห็นเขาสมอปูนทางขวามือและทุ่งงูเหลือมอยู่ตรงกลาง
หากโชคดี เส้นทางศึกษาธรรมชาติผาเดียวดายนี้ อาจพบนกหายากบางชนิด เช่น นกเงือก นกปรอดดำ นกแซงแซวหางบ่วง เป็นต้น

ทัศนียภาพบริเวณผาตรอมใจ

จุดชมวิวผาตรอมใจ

ตั้งอยู่เลยทางเข้าเส้นทางศึกษาธรรมชาติผาเดียวดายไปอีกเล็กน้อย คือเป็นทางเข้าของศูนย์เรดาร์ของกองทัพอากาศ บริเวณนี้จริงๆ แล้วเป็นเขตทหาร แต่ได้จัดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้บริเวณจุดชมวิวผาตรอมใจ เมื่อมองออกไปจะแลเห็นทุ่งหญ้ากว้างไกลสุดลูกหูลูกตา บริเวณนี้ค่อนข้างเงียบสงบเนื่องจากเป็นเขตทหารและอยู่ไกลจากแหล่งท่องเที่ยวอื่นอีกทั้งการเดินทางมาก็ค่อนข้างลำบากเพราะไกลและถนนไม่ดี มีคนมาน้อย บรรยากาศเงียบสงบจึงมีนกหลายชนิดให้ศึกษา บางวันจะมีช่างภาพพร้อมกล้องถ่ายรูปและเลนส์ขนาดใหญ่สำหรับถ่ายภาพนกมานั่งเงียบๆ คอยนกมาเกาะบนกิ่งไม้แล้วถ่ายภาพจริงๆ แล้วข้างในศูนย์เรดาร์ยังมีหน้าผาหินอีกแห่งหนึ่งซึ่งมีวิวสวยไม่แพ้กัน แต่ไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวทั่วไปเข้าชม

อ่างเก็บน้ำสายศร

อ่างเก็บน้ำสายศร

เป็นอ่างเก็บน้ำสำหรับใช้อุปโภคบริโภคภายในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และเพื่อเป็นแหล่งน้ำของสัตว์ป่า ดำเนินการสร้างโดยนายบุญเรือง สายศร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่คนแรกเมื่อปี 2524 โดยในช่วงที่สร้างนี้ นายบุญเรืองได้กลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าอุทยานในวาระที่ 2 แต่เดิมเรียกกันว่าอ่างเก็บน้ำมอสิงโต โดยเรียกตามชื่อของเขามอสิงโตที่อยู่บริเวณหน้าอ่างเก็บน้ำซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับสิงโต แต่ต่อมาในปี 2550 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอ่างเก็บน้ำสายศรเพื่อเป็นเกียรติแก่นายบุญเรือง สายศร อดีตหัวหน้าอุทยานเขาใหญ่คนแรก (พ.ศ. 2503-2506) ผู้ซึ่งมีส่วนบุกเบิกในการจัดตั้งอุทยาน และไม่ให้ผู้คนทั่วไปเข้าใจผิดคิดว่าในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีสิงโตอาศัยอยู่

หอดูสัตว์หนองผักชี

หนองผักชี


หนองผักชี ดินสีแดงทางซ้ายของภาพคือโป่งหนองผักชี
แต่เดิมนั้นเคยมีชาวบ้านขึ้นมาจับจองพื้นที่อาศัยอยู่บนเขาใหญ่ และถางป่าเพื่อปลูกพืชผักบางอย่าง เช่น ผักชี พริก เป็นต้น โดยอาศัยแหล่งน้ำคือหนองผักชีนี้เพื่อการเกษตรกรรม เมื่อทางการได้สั่งให้อพยพออกจากเขาใหญ่ พื้นที่ที่เคยปลูกพืชก็ถูกทิ้งร้างมีหญ้าขึ้นสูง เป็นแหล่งอาหารให้กับสัตว์กินพืชซึ่งจะลงมากินหญ้าที่บริเวณนี้เป็นประจำ ทางอุทยานแห่งชาติได้สร้างหอดูสัตว์หนองผักชีเพื่อใช้ดูสัตว์ที่ลงมากินหญ้า โดยสัตว์มักลงมากินหญ้าตอนเช้าตรู่และตอนเย็น

การเดินทาง

การเดินทางมายังอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ สามารถเดินทางได้ 2 ทางดังนี้

ช้างป่าออกหากินบนถนนธนะรัชต์
1. ขึ้นเขาฝั่งปากช่อง ซึ่งเป็นเส้นทางดั้งเดิม สร้างตั้งแต่ปี 2505 โดยเดินทางผ่านถนนมิตรภาพ เมื่อถึงช่วงอำเภอปากช่องจะมีทางแยกเข้าถนนธนะรัชต์ จากถนนมิตรภาพเข้ามาตามถนนธนะรัชต์ประมาณ 20 กิโลเมตรก็จะถึงด่านเก็บค่าธรรมเนียม ซึ่งใกล้กันนั้นเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ หรือปลัดจ่างผู้ปราบโจรบนเขาใหญ่เมื่อ 80 ปีก่อน โดยจากด่านเก็บค่าธรรมเนียมนี้ ต้องเดินทางไปอีกประมาณเกือบ 20 กิโลเมตรจึงจะถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เส้นทางนี้ค่อนข้างชันเมื่อเทียบกับเส้นใหม่ที่ขึ้นเขาฝั่งปราจีนบุรี สองข้างทางเป็นป่าดิบ มีดงเสือ ดงงูเห่า และดงช้างเป็นต้น ซึ่งนานๆ ครั้ง อาจเห็นสัตว์ออกมาเดินบนถนนใหญ่ โดยเฉพาะลิงซึ่งอาจมีมากเป็นร้อยตัวและมีกีดขวางการจราจร ควรใช้ความระมัดระวังในการขับรถเป็นอย่างมากเนื่องจากมีอุบัติเหตุขับรถชนลิงอยู่บ่อยๆ
2. ขึ้นเขาฝั่งปราจีนบุรี เป็นทางที่ตัดขึ้นใหม่ในปี 2525 ซึ่งหากเดินทางมาจากกรุงเทพมหานครแล้ว นับว่าสะดวกและใกล้กว่าทางฝั่งปากช่อง อีกทั้งทางขึ้นยังชันน้อยกว่าเล็กน้อย โดยขับรถมาทางถนนรังสิต-นครนายก เมื่อถึงตัวเมืองนครนายกให้เลี้ยวเข้าถนนสุวรรณศร (หมายเลข 33) ไปทางปราจีนบุรี เดินทางมาจนกระทั่งถึงวงเวียนให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนปราจีนบุรี-เขาใหญ่ ซึ่งนับจากวงเวียนนี้ จะห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวประมาณ 40 กิโลเมตร แต่หากมาจากทางนี้จะใกล้น้ำตกเหวนรกมากกว่า เส้นทางฝั่งนี้ไม่ค่อยมีสัตว์มากเท่ากับฝั่งปากช่อง แต่มีลิงมากพอๆ กัน ซึ่งควรขับรถด้วยความระมัดระวังเช่นกัน